ประวิติกีฬาวอลเลย์บอล กติกา และ อุปกรณ์การเล่น volleyball

จากความสำเร็จของทีมวอลเลย์บอลสาวไทยในยุคทองที่เราก้าวขึ้นไปแตะกลุ่มของของระดับโลกได้เลย นั่นทำให้กีฬาชนิดนี้แพร่หลายไปทั่วประเทศ มีการจัดแข่งขันทั้งระดับสมัครเล่นจนถึงระดับอาชีพอย่างจริงจัง มองไปทางไหนเราจะเห็นตามลานกีฬาจะมีการตั้งเน็ตเล่นกีฬาชนิดนี้กันเสมอ แต่กีฬาชนิดนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไร เรามาย้อนรอยดูกัน

ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล

กีฬาชนิดนี้ต้องบอกก่อนว่า เดิมทีคนที่คิดค้นขึ้นมีเป้าหมายให้มีกิจกรรมทำเพื่อออกกำลังกายกันในวันที่หิมะตกไม่สามารถออกไปไหนได้ การเล่นกีฬาในร่มจึงเกิดขึ้น สำหรับกีฬาชนิดนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 ผู้คิดค้นคือ นายวิลเลียม จี.มอร์แกน ในขณะนั้นเค้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. ประเทศสหรัฐอเมริกา

แนวคิดของนายวิลเลียมที่ทำให้เกิดกีฬา วอลเลย์บอล ก็คือ กีฬาเทนนิส นายวิลเลียม ปิ๊งไอเดียนี้ขึ้นมาตอนดูกีฬาเทนนิส จากนั้นเค้าก็เอาตาข่ายกีฬาเทนนิสมากางบนสนามที่คิดค้นขึ้นมา จากนั้นก็เอายางในของลูกบาสเกตบอลมาเป็นลูกบอลตีโต้กันไปมา ปรากฏว่ายางในมันเบาจนเกินไปทำให้เล่นแล้วไม่ได้น้ำหนัก ไม่สนุก นั่นทำให้ลองเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเกตบอลแทน ซึ่งมันก็ไม่ได้อีก เนื่องจากลูกมันหนัก หนา จนทำแขนเจ็บ สุดท้าย เค้าก็เลยสั่งทำลูกพิเศษขึ้นมาเล่นแทน จากนั้นได้ตั้งชื่อกีฬาชนิดใหม่นี้ว่า มินโทเนตต์ ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล จากคำแนะนำของ ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด แล้วจากนั้นกีฬาชนิดนี้ก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แพร่หลายไปทั่วอเมริกา จนถึงทั่วโลก

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในไทย

สำหรับในไทยนั้นการเผยแพร่เข้ามาเมื่อไร ยังไม่เป็นที่ปรากฏอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่สืบทราบมาได้ กีฬาชนิดนี้เริ่มมีคนรู้จักและเล่นกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) จากนั้นกรมพลศึกษา ได้จัดทำคู่มือการเล่นกีฬาชนิดนี้ให้กับประชาชนทั่วไป รวมถึงนำเข้าไปในการสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาด้วย อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญก็คือ อาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ ได้มีการจัดแข่งขันกีฬาประจำปี และมีการบรรจุกีฬาชนิดนี้เข้าไปด้วย นั่นทำให้เป็นครั้งแรกๆในเมืองไทยที่มีการแข่งขันรายการนี้อย่างเป็นทางการ แต่ว่าการแข่งขันในคราวนั้นเป็นการแข่งขันแบบทีมละ 9 คน

ต่อมาเพื่อให้กีฬาชนิดนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และแพร่หลาย จึงได้มีการจัดประชุมหารือกันเพื่อหาหน่วยงานผู้รับผิดชอบกีฬานี้ขึ้นมา โดยสรุปออกมาเป็นการจัดตั้งสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.2502 แล้วปรับเปลี่ยนกติกาให้คล้อยตามกับระบบสากล ด้วยการลดจำนวนผู้เข้าแข่งขันลงเหลือทีมละ 6 คนเท่านั้น แล้วนำกีฬาชนิดนี้ไปบรรจุเข้าไว้ในหลักสูตรระดับมัธยมอย่างเป็นทางการในปี 2521 (ระดับมัธยมต้น) ปี 2524 (ระดับมัธยมปลาย)

การจัดตั้งระบบลีค การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล แม้จะมีความนิยมมากขึ้น แต่ในระดับของการแข่งขันยังไม่เป็นลีคอาชีพอย่างเป็นทางการ จะเป็นการแข่งขันแบบสมัครเล่นทั้งระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ ที่จะมีเจ้าภาพเข้ามาสนับสนุนเงินรางวัลบ้างเป็นบางครั้ง แต่จากกระแสความนิยมของ ทีมวอลเลย์บอลหญิงไทยยุคทอง ได้ทำให้กีฬาชนิดนี้ตื่นตัวมากขึ้น โดยเฉพาะวอลเลย์หญิงที่มีเด็กรุ่นใหม่สนใจมากขึ้น ทำให้เกิดจุดสำคัญขึ้นนั่นก็ คือ

การก่อตั้งวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีคเป็นครั้งแรกขึ้นในปี พ.ศ.2549 โดยฝ่ายจัดการแข่งขันก็คือ สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย จับมือกับ บริษัท ไทยวอลเลย์บอล จำกัด ดำเนินการแข่งขันมาจนถึง ปัจจุบัน ซึ่งการสร้างลีคขึ้นมาตรงนี้ทำให้วงการวอลเลย์บอลไทยพัฒนาไปเร็วมาก เด็กรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบกีฬานี้ก็สามารถเล่นได้อย่างเต็มที่โดยมองว่าเป็นอาชีพที่หาเลี้ยงตัวเองได้ ในช่วง 3 ปีหลังเราจึงได้เห็นนักตบวอลเลย์บอลหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งกำลังสั่งสมประสบการณ์เพื่อขึ้นไปแทนรุ่นพี่ทีมชาติในอนาคตอันใกล้นี้